บทสวดมนต์เพื่อสุขภาพและป้องกันรักษาโรค
เป็นการรวมบทพระคาคา คาถา มนต์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสุขภาพ กำจัดโรคภัย ภัยพิบัติ และเสริมดวงชะตาให้พบกับความสุข ความร่ำรวยแบบทันตาเห็นในชาตินี้
พระคาถาอาฏานาฏิยะปะริตตัง
บทสวดมนต์นี้ เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลก ชั้นสวรรค์ จตุมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ 1) ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่าบนสวรรค์นี้จะ ไม่มีใครอยู่ ก็อาจถือโอกาสมาก่อกวน ซึ่งพวกตนก็อาจกลับมาไม่ทัน จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ ๔ กองประกอบด้วย คนธรรพ์ ยักษ์ และ นาค รักษาแต่ละทิศไว้ แล้วพากันไปประชุมที่อาฏานาฏิยะ นคร แล้วผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิยปริตรขึ้น จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมบริวารเป็นจำนวนมาก
ปรากฏว่าบริวารของท้าวมหาราชเหล่านี้ ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุทธองค์ต่างๆกัน เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่เชื่อถือ จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้าที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่างๆ ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านี้รบกวน จนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นอันตรายต่างๆนานา
ท้าวเวสสุวัณผู้เป็นใหญ่จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธองค์รับ “อาฏานาฏิยปริตร” ไว้ประทานแก่สาวกของพระองค์ เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์ และภูตผีปีศาจรบกวน ซึ่งเนื้อความเป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าเวลานอน เดิน นั่งหรือยืน ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้คุ้มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรค และความเดือดร้อนต่างๆ ปริตรบทนี้ใครได้สวดเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ เชื่อว่าแม้แต่ ยักษ์ ผี ปีศาจก็จะช่วยคุ้มครองให้มีความสุขความเจริญ
สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เรียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสวดมานับตั้งแต่บัดนั้น
บทนำ อาฏานาฏิยะปะริตตัง
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะ ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ
คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
บทอาฏานาฏิยะปะริตตัง
วิปัสสิสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ น๎หาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระ…สะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจาระระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทังฯ
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สัก๎ยะปุงคะโวฯ
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา
พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ท๎วัตติงสะลักขะณูเปตา สีต๎ยานุพ๎ยัญชะนาธะรา
พ๎ยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะฯ
ปุรัตถิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ปัจฉิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะ…สิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมหา อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต๎วา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต๎วา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เตฯ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัต๎วันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภาวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ
โอสถะปริตร (สวดเป็นยารักษาโรค)
สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง
พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัตตะวา ธัมมะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัตตะวา สังฆะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง
สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
โรคา วูปะสะเมนตุ เต
คาถาสืบชะตาต่ออายุ (อุณหิสสะวิชะยะ)
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงเมตตาให้เทวดาองค์หนึ่งที่ชื่อ เทพบุตรอุณหิสวิชัยที่กำลังจะหมดอายุขัย และต้องลงไปเสวยกรรมในนรก แต่เทวดาองค์นี้ มีความกลัวมากที่จะต้องลงไปเกิดใน เมืองนรก
จึงดิ้นรนทุกวิถีทาง ที่จะไม่ไปแต่ก็ไม่มีใครจะช่วยเหลือได้ แม้แต่องค์ พระอินทร์ แต่ยังโชคดีที่ได้พบพระพุทธเจ้า และทรงแนะให้ภาวนาคาถาบทนี้ จะได้มีอายุยืนยาวนานต่อไป เพื่อที่จะได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่นี้ บำเพ็ญภาวนาบนสวรรค์ ใช้หนี้กรรมที่มีอยู่ ให้หมดไป
พระคาถาบทนี้ จึงมีพุทธานุภาพมาก ในเรื่องของการมีอายุยืนยาวและยังทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอย่างง่าย ๆ อีกด้วย ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี หรือขี้โรค หรือป่วยเป็นโรคที่รักษายากแล้ว ควรหมั่นท่องภาวนาเป็นประจำ จะหายได้โดยเร็ววัน
ผู้ใดหมั่นสวดพระคาถานี้ จะระงับโรคภัยไข้เจ็บทั้งอายุก็จะยืนยาว ใช้เสกยากินแก้โรคได้ และ ถ้าผู้ใดสวดเจริญอยู่เป็นนิจ นอกจากจะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บรบกวนแล้ว ยังแคล้วคลาดจากภัยต่างๆ ด้วย
อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะหิตัตถายะ ตังตวังคัณหาหิ เทวะเต
ปะริวัชเช ระชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละมะระเณนะ วา
สัพพัสมา มะระณา มุตโต ฐะเปตวา กะละมาริตัง
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
สุทธะ สีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุข สะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระนัง วาจะนัง คะรุง
ปะเรสัง เทสะนังสุตวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตรได้ทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญโดยสรุปว่า มีธรรมข้อใดที่จะสามารถช่วยคนที่ก่อกรรมชั่วทั้งน้อยและกรรมหนักให้พ้นจากขุมนรกอเวจีได้
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสตอบเป็นการแสดงพระคาถาอาการะวัตตาสูตร และตรัสโดยสรุปถึงอานิสงส์ของพระคาถาอาการะวัตตาสูตรว่า
คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตามระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้
และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าวสอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐ ประการคือ
– ภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ
นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ อันตรธานพินาศไป
ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะเป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุปัททวันอันตราย นั้นหามิได้
ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอันผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์ ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗ ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์
แม้แต่สดับฟังท่านอื่นเทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่คติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์ พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ
บทสวดอาการะวัตตาสูตร
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)
2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)
3. อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)
4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)
5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)
6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)
7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)
8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)
9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)
10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)
11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)
12. อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)
13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)
14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)
15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)
16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)
17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
บทสวด โพชฌังคปริตรตัง
การสวดโพชฌงคปริตรเป็นหลักธรรมสำคัญหมวดหนึ่งที่นับถือกันมานาน เป็นพระพุทธมนต์สำหรับสวดสาธยายเพื่อให้คนป่วยสดับฟัง ได้หายจาก เป็นพุทธวิธีเสริมสุขภาพที่มีอานิสงส์ให้เกิดการผ่อนคลายและโรคภัยไข้เจ็บทุเลาลง
ในพระไตรปิฎกระบุว่า การสวดโพชฌงคปริตรเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้ฟังหายจากโรคภัยไข้เจ็บ
ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะและพระโมคคัลลานะ เมื่อครั้งที่พระมหากัสสปะและพระโมคคัลลานะอาพาธ พบว่าพระมหากัสสปะและพระโมคคัลลานะหายจากโรค
โพชฌงคปริตรเป็นบทสวดที่เชื่อถือกันมาว่าเป็นการเจริญอายุ ทำให้อายุยืน ทำให้หายจากความป่วยไข้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประชวรมีพระอาการมาก ทรงโปรดให้พระสาวกสวดโพชฌงค์ถวาย ครั้นได้ทรงสดับโพชฌงค์แล้วพระอาการประชวรนั้นก็หาย
จึงเป็นแบบอย่างของการสวดโพชฌงค์มาตั้งแต่บัดนั้น โดยในครั้งโพธิกาลหลังจากเหตุการณ์ครานั้นแล้ว ยามใดที่พระสาวกป่วยหนัก พระบรมศาสดาเองบ้าง หรือพระสาวกด้วยกันเองบ้างก็จะสวดโพชฌงค์ถวาย และอาการป่วยไข้ก็หาย
เพราะเหตุนี้หลังจากโพธิกาลเป็นต้นมา จึงเป็นที่เชื่อถือปฏิบัติของชาวพุทธทั่วโลกว่าโพชฌงคปริตรเป็นพระปริตรที่สวดแล้วจะสามารถรักษาอาการป่วยไข้ให้หายและทำให้อายุยืน ดังนั้นจึงเกิดธรรมเนียมสวดเจริญอายุให้กับคนไข้ใกล้ตายมาจนถึงบัดนี้
ความจริงโพชฌงคปริตรนั้น ถึงแม้จะถือว่าเป็นธรรมโอสถอันวิเศษ แต่ก็ไม่สามารถทำให้คนพ้นจากความตายไปได้ ทุกชีวิตเกิดมาแล้วย่อมต้องตาย ไม่อาจล่วงพ้นไปได้เลย โพชฌงคปริตรจึงมีความศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้ที่ยังไม่ถึงเวลาตาย และสำหรับผู้ที่มีภูมิธรรมขั้นสูง ใช้ยืดอายุเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จก่อน จึงสามารถขยายเวลาแห่งความตายออกไปได้ตามควรแก่เหตุและปัจจัย
โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมแห่งความตรัสรู้ ประกอบด้วยองค์เจ็ดประการคือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ธรรมอันเป็นเครื่องมือแห่งความหลุดพ้นหรือเป็นยานสำหรับข้ามแดนโลกียะมิติไปสู่วิมุตตะมิติ ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ครั้นได้สดับโพชฌงค์แล้ว จิตก็จะโน้มนำไปสู่ความตั้งมั่น ไปสู่ความบริสุทธิ์ และมีพละกำลังอันควรแก่การทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของจิต จึงประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์
จิตเช่นนั้นเมื่อมีความปรารถนาและโน้มจิตไปให้ความป่วยไข้สร่างหายก็จะมีอานุภาพที่จะทำให้ความป่วยไข้นั้นสร่างหายได้จริง ดังนั้นโพชฌงค์จะสัมฤทธิ์ผลได้จริงก็ต้องประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างหนึ่ง และสามารถปฏิบัติให้ถึงขั้นที่สามารถรับอานิสงส์ธรรมดาธรรมชาติแห่งโพชฌงค์นั้นอีกอย่างหนึ่ง
บทสวด โพชฌังคปริตรตัง
โพชฌังโค สะติสังขาโต
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ
โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
สัตเตเต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา
ภาวิตา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ
นิพพานายะ จะ โพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โสตถิ เต (เม)โหตุ สัพพะทา ฯ
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โสตถิ เต(เม)โหตุ สัพพะทาฯ
เอกะทา ธัมมะราชาปิ
เคลัญเญ นาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา
ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โสตถิ เต(เม) โหตุสัพพะทา ฯ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา
ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสา วะ
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โสตถิ เต(เม) โหตุ สัพพะทา ฯ
จบ
(ถ้าผู้ป่วยเป็นผู้สวดเอง เปลี่ยน เต เป็นเม และในการสวดของพระฝ่ายวิปัสสนาหรือพระสายป่าจะสวดออกเสียงตัว ท ทหาร จะออกเสียง เป็น ด เด็ก เช่น “ทิสวา” ให้ออกเสียง “ดิสวา”)
พระคาถา บูชาเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์
(แพทย์ ประจำองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
ก่อนสวดตั้งนะโม 3 จบ
นะโมตะสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
บทสวด
โอมะ นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กะรุณิโก
สัพพะ สัตตานัง โอสะถะทิพพะมันตัง
ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระภัจโจ ปะภาเสสิ
วันทามิ บัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมะนะโหมิ
ผู้ใดได้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งพระคาถาบทนี้ จะบังเกิดมีอานุภาพ ป้องกันสรรพโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นผู้ไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ หาได้ยาก และหากยิ่งได้ช่วยเผยแพร่ออกไป จะมีอานิสงส์บุญทำให้ปราศจากโรคร้ายภัยเวรต่างๆ
บทอธิษฐาน
ขอบารมีแห่งบรมครูหมอชีวกโกมารกัจจ์ จงคุ้มครองให้ ข้าพเจ้า …….. (ชื่อ / นามสกุล)…….. พ้นจากโรคร้ายภัยเวร โรคเวร โรคกรรม ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืน มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ขอให้อานิสงส์แห่งแรงอธิษฐานนี้คุ้มครองข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ล่วงไปเมื่อหน้าเทอญ …