การทำบุญในยุคสมัยก่อน คนรู้จักเพียงการใส่บาตรตอนเช้า สวดมนต์ไหว้พระตอนตื่นนอน และก่อนเข้านอน รวมถึงการไปวัดในวันอาทิตย์
เมื่อยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น องค์ความรู้ต่างๆ ถูกตีแผ่ขยายมากขึ้น รูปแบบการทำบุญจึงถูกพัฒนาและมีความเปลี่ยนแปลงไป จากใส่บาตรกันเฉพาะส่วนบุคคล หรือเฉพาะครอบครัวตอนเช้า ก็เป็นการใส่บาตรรวมกันเป็นหมู่คณะใหญ่ในอีเวนท์ต่างๆ
จากที่เคยสวดมนต์นั่งสมาธิที่บ้านก็มีค่ายปฏิบัติธรรม สถานปฏิบัติธรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย มีทั้งที่ทำได้ตามหลักที่ถูกต้อง และมีไม่น้อยเช่นกันที่มีการดัดแปลงและเติมแต่งกันไป
รูปแบบการทำบุญแท้จริงแล้วอยู่ตรงไหน ? มีกี่ข้อ ซึ่งในพระพุทธศาสนาระบุไว้มี 10 ช่องทาง
- ทานหมายถึง ทำความดีด้วยการให้
- ทำความดีด้วยการรักษาศีล
- การทำความดีด้วยการเจริญภาวนา มุ่งพัฒนาจิตใจ สวดมนต์ก็ได้
- การทำความดีด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
- การทำความดีโดยการทำในกิจที่ชอบ หรือ พูดง่ายๆ ว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง
6.การทำความดีด้วยการให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ กล่าวง่ายๆคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรือ งกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว
7.การทำความดีด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ กล่าวคือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย
- การทำความดีด้วยการฟังธรรม จะทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต
9.การทำความดีด้วยการอบรมสั่งสอนให้ความรู้ การแสดงธรรม คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น
10.การทำความดีด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม การไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิด และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ
จะเห็นได้ว่าในหลักของการสร้างบุญ การสร้างบุญที่ต้องใช้เงินสร้างมีเพียงรูปแบบเรื่อง ทานเท่านั้น ที่ต้องใช้กำลังทรัพย์หรือสิ่งของ ข้ออื่นๆ ไม่ต้องใช้เงินเลย
อย่างไรก็ตาม การทำบุญด้วยทานก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้บุญในข้ออื่นๆ มีกำลังใจและมีพลังเต็มไปด้วย เพราะคนเราถ้าไม่รู้จักสละออกแล้ว ทำความดีอะไรก็ทำไม่ขึ้น พระพุทธเจ้าจึงระบุเรื่องการรู้จักให้และสละออกเอาไว้เป็นข้อแรก
และอย่าลืมเป็นอันขาดว่า บุญนั้น “วัดด้วยเจตนา” มิใช่ “จำนวนเงิน”
ขอพลังแห่งบุญจงรักษาทุกท่าน
ขอบุญรักษา
ธ.ธรรมรักษ์
ใส่ความเห็น